ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โลกการแข่งขันธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดการณ์ได้ยาก และโดยเฉพาะในภาวะวิกฤตเช่นปัจจุบัน ระบบการบริหารจัดการ ที่ชัดเจนแต่ยืดหยุ่นได้ มีความคล่องตัว สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันคือเครื่องมือสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆฝ่าฟันอุปสรรคและบรรลุเป้าหมายได้ในยามยากลำบากนี้ได้
ในปัจจุบันระบบ OKRs และ Agile ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นระบบที่ได้รับการยอมรับว่า สามารถช่วยให้องค์กรทำงานได้อย่างยืดหยุ่นแต่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นได้หลายองค์กรจึงพยายามที่จะนำระบบดังกล่าว เข้ามาใช้ในการบริหารจัดการในองค์กร
แต่ในทางปฏิบัติก็พบปัญหาและอุปสรรคไม่น้อย เนื่องจากหัวใจของการทำระบบคือต้องชัดเจน แต่ต้องมีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับเปลี่ยนเป้าหมายแผนงานหรือแม้แต่ทีมงานในการทำเป้าหมายต่างๆได้อย่างรวดเร็วทันสถานการณ์ ซึ่งปัจจัยสำคัญนอกจากศักยภาพบุคลากรในองค์กรแล้ว องค์กรจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่สามารถรองรับการทำงานลักษณะนี้ อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
เพื่อความถูกต้องของการจัดทำระบบสิ่งแรกที่องค์กรต้องกำหนดการคือ Set โครงสร้างองค์กรให้ถูกต้องในระบบ ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหน่วยงานต่างๆซึ่งต้องใช้ในการมอบหมาย OKRs ตามลำดับชั้นบังคับบัญชาที่สอดคล้องกับโครงสร้างองค์กร
ก่อนที่จะกำหนด OKRs ในระดับต่างๆขององค์กร องค์กรเองต้องมีการกำหนด Objective และ KRs/KPIs ของระดับองค์กรให้เรียบร้อยก่อน ที่จะดำเนินการประชุมมอบหมาย OKRs ให้กับผู้รับผิดชอบร่วมในระดับต่างๆต่อไป
เพราะการกำหนดวัตถุประสงค์และ OKRs ที่ครบถ้วนในมิติต่างๆขององค์กรคือหัวใจสำคัญที่ทำให้ OKRs ในองค์กรตอบโจทย์ด้านต่างๆอย่างรอบด้านไม่ตกหล่น เพราะถ้าในระดับองค์กรขาด OKRs ด้านใดด้านหนึ่งไปแล้วก็อาจจะยากที่หน่วยงานจะกำหนด OKRs เรื่องนั้นๆขึ้นมาในภายหลัง
หัวใจสำคัญของการทำระบบให้มีเป้าหมายที่สอดคล้องกันและสร้างความสำเร็จให้กับเป้าหมายที่สูงสุด คือการที่หน่วยงานต่างๆรับผิดชอบเป้าหมายบางเรื่องร่วมกัน เพราะเป้าหมายบางข้อไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ด้วยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ดังนั้นกระบวนการกำหนดเป้าหมายร่วม เจ้าภาพร่วม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในระบบ OKRs ดังนั้นองค์กรต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดเป้าหมายร่วม เจ้าภาพร่วม และ รับผิดชอบร่วมกันให้มากที่สุด
หลังจากที่มีการกำหนด OKRs ระดับองค์กรและมอบหมายสู่สายงานต่างๆแล้ว ในแต่ละหน่วยงานก็ต้องดำเนินการในกระบวนการเดียวกัน คือกำหนด OKRs ร่วมกันและตกลงมอบหมาย OKRs เหล่านั้นให้กับผู้รับผิดชอบร่วมกันในระดับต่อไป เพื่อที่จะร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนเป้าหมายนั้นให้บรรลุผลต่อไป ดังนั้นในหน่วยงานหน่วยงานหนึ่งก็จะมีเป้าหมาย 2 ส่วนคือ OKRs ที่รับมอบหมายมาจากผู้บังคับบัญชาหรือองค์กร และ OKRs ที่หน่วยงานกำหนดขึ้นเพื่อมอบหมายงานภายในหน่วยงานนั้นๆ
ในระบบของเราจะมีการเตรียม OKRs ซึ่งได้รวบรวมจากประสบการณ์ของที่ปรึกษาเพื่อที่จะเป็นแนวทางกำหนด OKRs ของหน่วยงานต่างๆที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน เพื่อให้แต่ละหน่วยงานสามารถกำหนด OKRs ที่จะช่วยส่งเสริมความสำเร็จขององค์กร และสามารถแข่งขันได้ในอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามการกำหนด OKRs ที่ดีที่สุดคือการกำหนดให้สอดคล้องกับโจทย์ขององค์กร และสถานการณ์ความจำเป็นต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นประเด็นสำคัญ
สิ่งสำคัญหลังจากการกำหนดเป้าหมาย นั่นคือการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมาย และการดำเนินการเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผล และในการดำเนินการนั้นต้องมีการติดตามผลงานและมีการบันทึกผลงานในแต่ละช่วงเวลาที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถติดตามตรวจสอบความคืบหน้าของการทำงาน และผลงานในช่วงต่างๆในการดำเนินการได้อย่างชัดเจน เพื่อที่จะสามารถบริหารจัดการความสำเร็จของเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เพื่อการบริหารผลงานที่ดี การแสดงสถานะของเป้าหมายต่างๆถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้อง จะได้รับรู้รับทราบว่าเป้าหมายแต่ละข้อดำเนินการถึงขั้นตอนใดอยู่ระหว่างการทำแผนปฏิบัติการ อยู่ระหว่างการดำเนินการ หรือดำเนินการเรียบร้อยแล้ว เพื่อที่จะได้สามารถบริหารจัดการ ความสำเร็จด้านต่างๆขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อไป
วัตถุประสงค์สำคัญของการทำระบบ OKRs คือระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อเพื่อช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายด้านต่างๆ โดยหลักการสำคัญคือไม่นำ OKRs ไปเป็นเกณฑ์จ่ายผลตอบแทนโดยตรง เพราะจะทำให้ไม่เกิดการกำหนดเป้าหมายที่ท้าทาย และเป็นอุปสรรคต่อการทำงานร่วมกันของคนในองค์กร
แต่อย่างไรก็ตามในองค์กรต่างๆยังต้องมีกระบวนการในการประเมินผลงานเพื่อจ่ายผลตอบแทนในแต่ละปี ดังนั้นเป้าหมายที่กำหนดในการทำงาน บางส่วน นอกจากเป็น OKRs ที่เป็นเป้าหมายในการทำงานแล้ว เราก็ยังสามารถนำไปใช้เป็น KPIs ในการประเมินผลงานประจำปีได้อีกด้วย